|
|
แนะแนวอาชีพ
การแนะแนวอาชีพ
เป็นกระบวนการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนมีงานทำโดยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้จัดให้มีการแนะแนวอาชีพแก่นักเรียน
นักศึกษา ผู้หางานทำ และประชาชนทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจในโลกของอาชีพและการทำงาน
ซึ่งจะทำให้สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนไป การแนะแนวอาชีพจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ด้วยตนเอง
อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความถนัด ความเข้าใจ ค่านิยม
ของสังคม ตลอดจน สภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อมูลอาชีพ
จัดทำขึ้นโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน เพื่อประโยชน์แก่นักแนะแนวอาชีพ
นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้หางานทำ ครูแนะแนว และประชาชนทั่วไป
ที่จะใช้เป็นข้อมูลศึกษาในรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ ลักษณะและสภาพการทำงาน
โอกาสการมีงานทำ ความก้าวหน้าของแต่ละอาชีพ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
โดยประกอบด้วยข้อมูลอาชีพต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
จำนวน 100 อาชีพ โดยแยกตามกลุ่มบุคลิกภาพ 6 กลุ่ม
|
|
กลุ่มที่
1 บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝัน นิยมความจริง (Realistic)
อาทิเช่น ช่างฟิต วิศวกรโยธา ฯลฯ |
|
กลุ่มที่
2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องการใช้เชาว์ปัญญา (Investigative) อาทิเช่น
เภสัชกร นักวิเคราะห์การตลาด ฯลฯ |
|
กลุ่มที่
3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ (Artistic) อาทิเช่น ผู้สื่อข่าว ภูมิสถาปนิก
ฯลฯ |
|
กลุ่มที่
4 บุคลิกภาพแบบที่ชอบสมาคมสังคมกับบุคคลอื่น (Social) อาทิเช่น
ครู อาจารย์ ช่างเสริมสวย ฯลฯ |
|
กลุ่มที่
5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising) อาทิเช่น ทนายความ
พนักงานขาย ฯลฯ |
|
กลุ่มที่
6 บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน (Conventional) อาทิเช่น
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เลขานุการ ฯลฯ |
|